วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ ที่ 3 กรกฎาคม 2558
วันนี้ให้เด็กได้เล่นกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆมีความสามัคคีในการเล่นเกมที่ครูได้จัดเตรียมเอาไว้ให้เด็กๆ เด็กมีความสนุกสนาน
บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสบดี ที่ 2 กรกฎาคม 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมระบายสีตามภาพที่ครูให้และระบายสีภาพให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้เด็กได้ทำตามเด็กมีความสนใจและตั้งใจในการทำงานที่ครูสั่ง
บันทึกสะท้อนคิด วันพุธ ที่ 1 กรกฎาคม 2558
วันนี้ได้พาเด็กออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมีสุขภาพที่แข็งแรงเด็กมีความตั้งใจในการฟังครูสอนในแต่ละท่าที่ครูทำเป็นตัวอย่าง
บันทึกสะท้อนคิด วันอังคาร ที่ 30 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมปั้นดินนำ้มันเพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมีจินตนาการในการปั้นแต่ละคนเด็กมีความตั้งใจในการปั้นดินนำ้มันและออกมาได้ดี
บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ พาเด็กร้องเพลงทำท่าทางประกอบเด็กมีความสนุกสนานร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆได้ดี
บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ ที่ 26 มิถุนายน 2558
วันนี้พาเด็กทำกิจกรรมลากเส้นตามรอยปะ เด็กส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการลากเส้นตามรอยปะเพื่อพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กให้มีความแข็งแรงมากขึ้น แต่บางคนก้อไม่ค่อยจะสนใจในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมการอ่านเด็กมีความพร้อมที่จะอ่านหนังสือ มีความกระตือรือร้นในการอยากทำกิจกรรมในช่วงเช้า เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันพุธ ที่ 24 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่/ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เกมจับคู่ เกมแยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ ฯลฯ
การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมองด้านการคิด เมื่อเซลส์สมองถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณต่างๆ เกิดเป็นข้อมูลจำนวนมาก การคิดจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลใหม่อีกชิ้นหนึ่งซึ่งซับซ้อนขึ้น การที่เด็กเล่นเกมการศึกษาจึงเป็นการกระตุ้นให้สมองได้จัดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบใหม่ เมื่อเกิดซ้ำๆ กัน ก็จะเกิดความคงตัวในวงจรร่างแหของเซลส์สมองนั่นเอง
การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมองด้านการคิด เมื่อเซลส์สมองถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณต่างๆ เกิดเป็นข้อมูลจำนวนมาก การคิดจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลใหม่อีกชิ้นหนึ่งซึ่งซับซ้อนขึ้น การที่เด็กเล่นเกมการศึกษาจึงเป็นการกระตุ้นให้สมองได้จัดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบใหม่ เมื่อเกิดซ้ำๆ กัน ก็จะเกิดความคงตัวในวงจรร่างแหของเซลส์สมองนั่นเอง
บันทึกสะท้อนคิด วันอังคาร ที่ 23 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิต ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ประกอบอาหาร เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ฯลฯ
กระบวนการให้สมองเรียนรู้ที่จะให้ความหมายสิ่งที่เห็น สิ่งที่เผชิญ ตีความ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มา เป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากการรับรู้ของสมองจำนวนมาก ถ้าไม่มีข้อมูลในความทรงจำ ก็ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ ดังนั้นกระบวนการพัฒนาการคิดของของเด็กจึงต้องมุ่งเน้นให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งที่ก่อรูปในการคิดของเด็กเริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง ประสบการณ์ของเด็กผ่านการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การได้ยิน และการเห็น จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างความหมายให้แก่สิ่งต่างๆ ครูจึงควรออกแบบกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งจัดให้เด็กมีประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ เด็กจะได้เคยชินกับการใช้ความคิด และคิดเป็นในที่สุด
กระบวนการให้สมองเรียนรู้ที่จะให้ความหมายสิ่งที่เห็น สิ่งที่เผชิญ ตีความ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มา เป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากการรับรู้ของสมองจำนวนมาก ถ้าไม่มีข้อมูลในความทรงจำ ก็ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ ดังนั้นกระบวนการพัฒนาการคิดของของเด็กจึงต้องมุ่งเน้นให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งที่ก่อรูปในการคิดของเด็กเริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง ประสบการณ์ของเด็กผ่านการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การได้ยิน และการเห็น จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างความหมายให้แก่สิ่งต่างๆ ครูจึงควรออกแบบกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งจัดให้เด็กมีประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ เด็กจะได้เคยชินกับการใช้ความคิด และคิดเป็นในที่สุด
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ ที่ 22 มิถุนายน 2558
วันนี้วันจันทร์ ที่ 22 พาเด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ ได้รับรู้เกี่ยวกับความงาม และได้แสดงออกทางความรู้สึก และความสามารถของตนเอง การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดวันละ 3-5 กิจกรรม ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1-2 กิจกรรมตามความสนใจ
การจะพัฒนาด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ให้เด็กต้องเข้าใจว่า ศิลปะคือกระบวนการที่สมองถอดความคิดออกมาเป็นภาพ และชิ้นงานต่างๆ กระบวนการพัฒนาศิลปะและการสร้างสรรค์ของเด็กจึงเน้นให้เด็กคิดและลงมือทำออกมา เมื่อเด็กทำงานศิลปะเด็กจะเกิดการเชื่อมโยงในสมอง คิดจินตนาการ และผลโดยตรงที่เด็กได้รับ คือ ความรู้สึกพอใจ มีความสุข และได้สัมผัสสุนทรียะของโลกตั้งแต่วัยเยาว์ การแสดงออกทางศิลปะจึงเปรียบเสมือนการสร้างจินตนาการเป็นรูปร่างภายนอกแล้วป้อนกลับเข้าสู่สมอง เป็นการทำให้สมองได้จัดการกับจินตนาการต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยิ่งทำ ยิ่งจัดระบบความคิดได้ดีขึ้น ในการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมอง ครูจึงควรให้เด็กมีเวลาเต็มที่ในการทำงานศิลปะ ให้เด็กมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส มีโอกาสทดลองใช้วัสดุ และเครื่องมือที่หลากหลาย ได้พูดคุยเกี่ยวกับงานของตนเองหรือให้เด็กได้จัดแสดงและนำเสนอผลงาน ศิลปะของเด็กไม่ควรเน้นการลอกเลียนแบบ หรือการทำให้เหมือนของจริง เนื่องจากสายตาและจินตนาการของเด็กวัยนี้ยังไม่ได้มุ่งไปสู่ความถูกต้องของสัดส่วน แสง หรือเงา
การจะพัฒนาด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ให้เด็กต้องเข้าใจว่า ศิลปะคือกระบวนการที่สมองถอดความคิดออกมาเป็นภาพ และชิ้นงานต่างๆ กระบวนการพัฒนาศิลปะและการสร้างสรรค์ของเด็กจึงเน้นให้เด็กคิดและลงมือทำออกมา เมื่อเด็กทำงานศิลปะเด็กจะเกิดการเชื่อมโยงในสมอง คิดจินตนาการ และผลโดยตรงที่เด็กได้รับ คือ ความรู้สึกพอใจ มีความสุข และได้สัมผัสสุนทรียะของโลกตั้งแต่วัยเยาว์ การแสดงออกทางศิลปะจึงเปรียบเสมือนการสร้างจินตนาการเป็นรูปร่างภายนอกแล้วป้อนกลับเข้าสู่สมอง เป็นการทำให้สมองได้จัดการกับจินตนาการต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยิ่งทำ ยิ่งจัดระบบความคิดได้ดีขึ้น ในการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมอง ครูจึงควรให้เด็กมีเวลาเต็มที่ในการทำงานศิลปะ ให้เด็กมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส มีโอกาสทดลองใช้วัสดุ และเครื่องมือที่หลากหลาย ได้พูดคุยเกี่ยวกับงานของตนเองหรือให้เด็กได้จัดแสดงและนำเสนอผลงาน ศิลปะของเด็กไม่ควรเน้นการลอกเลียนแบบ หรือการทำให้เหมือนของจริง เนื่องจากสายตาและจินตนาการของเด็กวัยนี้ยังไม่ได้มุ่งไปสู่ความถูกต้องของสัดส่วน แสง หรือเงา
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ ที่ 19 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวและจังหวะมีบทบาทและสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนจะต้องทราบว่าร่างกายของเขานั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง เขาสามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปได้อย่างไร ไปในทิศทางใด จะต้องสัมพันธ์กับสิ่งใดหรือจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่จะช่วยให้เขาสามารถ เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน องค์ประกอบต่างๆ
ที่จะเป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว ดังนี้
1. บริเวณพื้นที่ (Space) หมายถึงสถานที่ที่เด็กต้องการในการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
1.1 บุคคลที่อยู่รอบตัวเด็กในขณะที่เด็กมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว ในขณะที่เท้าอยู่กับที่
1.2 อุปกรณ์หรือวัตถุอื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปได้รอบๆ บริเวณพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
1.3 ทิศทาง (Direction) ได้แก่ การเคลื่อนไหวไปข้างหน้า การเคลื่อนไหวถอยหลัง การเคลื่อนไหวไปด้านข้าง การเคลื่อนไหวไปด้านบน การเคลื่อนไหวไปด้านล่าง การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม การเคลื่อนไหวแบบคดเคี้ยว และการเคลื่อนไหวแบบบิดตัว เป็นต้น
1.4 ระดับของการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับความสูงมาก ระดับความสูงปานกลาง และระดับต่ำ
1.5 ขนาด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก
2. เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ หมายถึง ระดับความช้า – เร็ว ของการเคลื่อนไหว เช่น เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เคลื่อนไหวในระดับความเร็วปานกลาง เคลื่อนไหวในระดับความเร็วมาก เคลื่อนไหวอย่างเรียบร้อยนิ่มนวล เป็นต้น
3. ความแรงของการเคลื่อนไหว หมายถึง ปริมาณหรือจำนวนของความแข็งแรงหรือความแข็งแกร่งที่ต้องการเพื่อการเคลื่อน ไหวที่เหมาะสม เช่น เบามาก หนักมาก แรงมาก ความอ่อน และความตึงตัว เป็นต้น
4. การเปลี่ยนทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว หมายถึง ลำดับขั้นหรือการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งไปสู่การ เคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทิศทางจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่อีกสภาพการณ์หนึ่ง นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวนั้น ประกอบด้วย บริเวณพื้นที่ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ความแรงของการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวและจังหวะมีบทบาทและสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนจะต้องทราบว่าร่างกายของเขานั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง เขาสามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปได้อย่างไร ไปในทิศทางใด จะต้องสัมพันธ์กับสิ่งใดหรือจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่จะช่วยให้เขาสามารถ เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน องค์ประกอบต่างๆ
ที่จะเป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว ดังนี้
1. บริเวณพื้นที่ (Space) หมายถึงสถานที่ที่เด็กต้องการในการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
1.1 บุคคลที่อยู่รอบตัวเด็กในขณะที่เด็กมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว ในขณะที่เท้าอยู่กับที่
1.2 อุปกรณ์หรือวัตถุอื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปได้รอบๆ บริเวณพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
1.3 ทิศทาง (Direction) ได้แก่ การเคลื่อนไหวไปข้างหน้า การเคลื่อนไหวถอยหลัง การเคลื่อนไหวไปด้านข้าง การเคลื่อนไหวไปด้านบน การเคลื่อนไหวไปด้านล่าง การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม การเคลื่อนไหวแบบคดเคี้ยว และการเคลื่อนไหวแบบบิดตัว เป็นต้น
1.4 ระดับของการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับความสูงมาก ระดับความสูงปานกลาง และระดับต่ำ
1.5 ขนาด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก
2. เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ หมายถึง ระดับความช้า – เร็ว ของการเคลื่อนไหว เช่น เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เคลื่อนไหวในระดับความเร็วปานกลาง เคลื่อนไหวในระดับความเร็วมาก เคลื่อนไหวอย่างเรียบร้อยนิ่มนวล เป็นต้น
3. ความแรงของการเคลื่อนไหว หมายถึง ปริมาณหรือจำนวนของความแข็งแรงหรือความแข็งแกร่งที่ต้องการเพื่อการเคลื่อน ไหวที่เหมาะสม เช่น เบามาก หนักมาก แรงมาก ความอ่อน และความตึงตัว เป็นต้น
4. การเปลี่ยนทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว หมายถึง ลำดับขั้นหรือการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งไปสู่การ เคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทิศทางจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่อีกสภาพการณ์หนึ่ง นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวนั้น ประกอบด้วย บริเวณพื้นที่ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ความแรงของการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือท่าทางของการเคลื่อนไหว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานของการเคลื่อนไหว
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสบดี ที่ 18 มิถุนายน 2558
การวาดรูป (Drawing) และการระบายสี (Painting)
วันนี้ได้พาเด็กวาดรูปและระบายสีเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา และกิจกรรมนี้จะสอนให้เด็กๆวาดรูปได้ โดยเริ่มจากเส้นก่อน สำหรับน้องๆที่เพิ่งเริ่มหัดวาดรูป จากนั้นจะหัดวาด สิ่งต่างๆรอบตัว เด็กๆจะได้รู้จักกับรูปร่าง Shape และรูปทรง Form ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวาดในขั้นสูงต่อๆไป ส่วนการระบายสีภาพนั้นเด็กๆจะได้ฝึกใช้สีหลายๆชนิด ได้แก่ สีไม้ สีชอลค์ สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีเมจิก สีเทียน สีอะครีลิค สีผสมอาหาร พร้อมทั้งรู้วิธีการระบายสีให้เกิดความสวยงาม
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันพุธ ที่ 17 มิถุนายน 2558
วันนี้วันพุธ ที่ 17 มิถุนายน 2558 ได้พาเด็กเรียนรู้หัวข้อ"ภาษาพาเรียนรู้ก้าวไกลสู่ AEC(อาเซียน)
ให้เด็กได้รู้จักคำกล่าวทักทาย (ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน) มีทั้งหมด 10 ประเทศดังนี้
เด็กมีความตั้งใจฟังและพูดออกเสียงตามครูได้อย่างพร้อมเพรียงกัน เพราะในวันข้างหน้าเด็กๆทุกคนต้องก้าวไปสู่ประเทศอาเซียน เราจะต้องให้เด็กได้เรียนรู้และเรียนภาษาเพื่อในอนาคตของเด็ก
ให้เด็กได้รู้จักคำกล่าวทักทาย (ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน) มีทั้งหมด 10 ประเทศดังนี้
สวัสดี = Hello / Hi
ความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษ มีการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน เข้าใจความแตกต่างของภาษา การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสามารถสื่อสารกับชาวชาติได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ง่ายและกว้างขึ้น ในขณะที่ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี เป็นต้น สถานศึกษาสามารถจัดสอนได้ตามความเหมาะสม
ประเทศ
คำอ่านภาษาไทย
บรูไน ซาลามัต ดาตัง อินโดนีเซีย ซาลามัต เซียง มาเลเซีย ซาลามัต ดาตัง ฟิลิปปินส์ กูมุสตา สิงคโปร์ หนีห่าว ไทย สวัสดี กัมพูชา ซัวสเด ลาว สะบายดี พม่า มิงกาลาบา เวียดนาม ซินจ่าว
เด็กมีความตั้งใจฟังและพูดออกเสียงตามครูได้อย่างพร้อมเพรียงกัน เพราะในวันข้างหน้าเด็กๆทุกคนต้องก้าวไปสู่ประเทศอาเซียน เราจะต้องให้เด็กได้เรียนรู้และเรียนภาษาเพื่อในอนาคตของเด็ก
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันอังคาร ที่ 16 มิถุนายน 2558
วันนี้ได้พาเด็กทำกิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ โดยให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ลักษณะของการเล่นของเด็กมีหลายลักษณะ เช่น การเล่นบทบาทสมมติและเล่นเลียนแบบ ในมุมบ้าน มุมหมอ มุมร้านค้า มุมวัด มุมเสริมสวย ฯลฯ การอ่านหรือดูภาพในมุมหนังสือ การเล่นสร้างในมุมบล็อก การสังเกตและทดลองในมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ การเล่นฝึกทักษะต่างๆ ในมุมเครื่องเล่นสัมผัส หรือมุมของเล่น หรือมุมเกมการศึกษาเป็นต้น
การจัดกิจกรรมเสรีหากครูจัดมุมเล่นโดยจัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่ท้าทาย หรือไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลยย่อมทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ เพราะสมองจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งจูงใจที่ชักนำให้สมองสนใจผลิตความรู้ สมองจะมีกระบวนการเลือกคัดกรองเฉพาะสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้นเข้าสู่การรับรู้ของสมอง ทั้งนี้ การจัดมุมเล่นที่ดีที่สามารถส่งเสริมจึงควรจัดสื่อที่ตรงกับความสนใจของเด็ก เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอกับเด็ก และจัดวางให้เด็กหยิบใช้และเก็บเองได้ จัดให้น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงสื่อที่จัดไว้อย่างสม่ำเสมอตามหัวข้อที่เด็กสนใจและกำลังเรียนรู้ตามหลักสูตรเพื่อกระตุ้นให้เด็กต้องการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดมุมเล่นด้วยก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสได้เล่น หรือจัดกระทำกับสื่อต่างๆ อย่างเพียงพอ
การจัดกิจกรรมเสรีหากครูจัดมุมเล่นโดยจัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่ท้าทาย หรือไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลยย่อมทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ เพราะสมองจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งจูงใจที่ชักนำให้สมองสนใจผลิตความรู้ สมองจะมีกระบวนการเลือกคัดกรองเฉพาะสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้นเข้าสู่การรับรู้ของสมอง ทั้งนี้ การจัดมุมเล่นที่ดีที่สามารถส่งเสริมจึงควรจัดสื่อที่ตรงกับความสนใจของเด็ก เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอกับเด็ก และจัดวางให้เด็กหยิบใช้และเก็บเองได้ จัดให้น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงสื่อที่จัดไว้อย่างสม่ำเสมอตามหัวข้อที่เด็กสนใจและกำลังเรียนรู้ตามหลักสูตรเพื่อกระตุ้นให้เด็กต้องการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดมุมเล่นด้วยก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสได้เล่น หรือจัดกระทำกับสื่อต่างๆ อย่างเพียงพอ
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ ที่ 15 มิถุนายน 2558
วันนี้เป็นวันจันทร์ ที่ 15 ได้พาเด็กออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เช่น การออกกำลังกายมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองคนเราโดยเฉพาะเด็กวัย 3 ขวบแรกของชีวิตที่เซลล์สมองจะสร้างใยประสาท เมื่อเส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันมากพอเหมาะ เด็กจะฉลาด การที่ใยประสาทจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จะต้องอาศัยการออกกำลังกายเป็นสำคัญประการหนึ่ง เพราะขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว จะเกิดแรงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารดีสร้างความสุขให้ตัวเรา จิตใจจะผ่อนคลาย และเมื่อออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมีผลให้รูปร่างลักษณะของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความเหมาะสม คือ การทรงตัวดี กระดูกแข็งแรง ไม่มีไขมันเพราะร่างกายได้ฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ การทำงานของอวัยวะจะสัมพันธ์กันและทำ งานเป็นปกติ เช่น ระบบขับถ่ายของเสีย ทั้งถ่ายหนัก ถ่ายเบา การขับเหงื่อออกจากผิวหนัง หรือการที่ร่างกายนอนหลับเมื่อถึงเวลาพักผ่อน เกิดจากการที่ร่างกายปรับความสมดุลของร่างกายให้ดี ขณะนอนหลับไตจะทำงานขับของเสียออกจากร่างกาย และขณะเดียวกันร่างกายจะมีพลังเพิ่มขึ้น หากเราพักผ่อนได้เต็มที่ เมื่อตื่นนอนเราจะรู้สึกสดชื่นพร้อมจะดำเนินชีวิตต่อไป และทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันศุกร์ ที่12 มิถุนายน 2558
วันนศุกร์ ที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 14.00น. ได้มีการประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวสนาม เปิดภาคเรียนที่1 จะต้องมีการประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการทุกคนต้องรับรู้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานในศูนย์ทุกเรื่อง ทุกอย่าง สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือผู้ปกครองได้มอบความไว้วางใจนำบุตรหลานให้แก่ทางศูนย์คอยดูแลในการประชุมผู้ปกครองนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ปกครองต้องรับรู้ต้องเอาใจใส่ เพราะปัจจุบันนี้เด็กต่างชาติจะเก่งกว่าเด็กไทย เด็กไทยไม่ค่อยยอมให้ลูกเข้าโรงเรียน เรื่องนี้ก็ฝากผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานของตนเองดังนั้นอบต.ก็ต้องมีหน้าที่คอยบริการเด็กในเรื่องการศึกษาและต้องคอยดูแลบุตรหลานของท่านก่อนวันเรียนด้วย เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีค วามพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา เสริมสร้างเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ
อย่างสมดุล เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี และเป็นการเตรียมความพร้อมใ ห้กับเด็กที่จะเข้ารับการศึ กษาต่อในระดับชั้น ที่สูงขึ้นต่อไป
อย่างสมดุล เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี และเป็นการเตรียมความพร้อมใ
วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันพฤหัสบดี ที่ 11 มิถุนายน 2558
วันนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวสนามได้มีการจัดกิจกรรมวันไหว้ครูเป็นวันสำคัญสำหรับนักเรียน เพื่อฝึกให้เด็กหรือนักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของคุณครู ที่ได้ดูแลอบรมสั่งสอน ให้ความรู้ ความรัก ความอบอุ่นใกล้ชิด อบรมให้เด็กมีคุณธรรมและจริยธรรม รู้รักสามัคคีช่วยเหลือแบ่งปันตลอดจนเป็นคนดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมอย่างมีความสุข ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้จัดกิจกรรมวันไหว้ครูดังกล่าวขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน ๒๕๕๘
บันทึกสะท้อนคิด วันพุธ ที่ 10 มิถุนายน 2558
ปัญหาพฤติกรรมเด็กทะเลาะหรือรังแกกัน
ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเด็กเล่นด้วยกัน คุยกัน ก็ย่อมมีเรื่องทะเลาะกันตามประสา เพราะเด็กยังไม่สามารถควบคุมหรือใช้อารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม แต่หากการทะเลาะกันเล็กๆเลยเถิดเป็นรังแกกัน พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจะต้องสังเกตและแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายใหญ่โต
วิธีแก้ปัญหา
ปรับพฤติกรรมเด็กที่ชอบรังแกเพื่อน ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักรักกัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแพร่ เล่นด้วยกันอย่างสามัคคี ถ้าใครทำผิดก็ต้องรู้จักคำขอโทษ และก็รู้จักการให้อภัยกัน เพื่อทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเด็กเล่นด้วยกัน คุยกัน ก็ย่อมมีเรื่องทะเลาะกันตามประสา เพราะเด็กยังไม่สามารถควบคุมหรือใช้อารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม แต่หากการทะเลาะกันเล็กๆเลยเถิดเป็นรังแกกัน พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจะต้องสังเกตและแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายใหญ่โต
วิธีแก้ปัญหา
ปรับพฤติกรรมเด็กที่ชอบรังแกเพื่อน ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักรักกัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแพร่ เล่นด้วยกันอย่างสามัคคี ถ้าใครทำผิดก็ต้องรู้จักคำขอโทษ และก็รู้จักการให้อภัยกัน เพื่อทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันอังคาร ที่ 9 มิถุนายน 2558
พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน) จะพบว่าส่วนใหญ่เด็กวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการสำรวจตรวจค้นอยู่แล้ว ตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย แต่ลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้จะพบในเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน เนื่องจากเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น มีความสามารถในการรับรู้ช้ากว่า ร่วมกับความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่ำ และบางครั้งปัจจัยการเลี้ยงดูก็มีส่วนทำให้เด็กเหล่านี้มีพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งมากขึ้นด้วย เนื่องจากความรัก ความสงสารเด็ก เห็นว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการและยังเล็กอยู่ รอให้โตขึ้นกว่านี้จึงค่อยสอนก็ได้
วิธีการแก้ไข
ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำกิจกรรมอย่างมีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจเด็กให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากก่อน เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย อาจเป็นการวิ่ง เตะบอล กระโดด เพื่อให้เด็กระบายพลังงานที่มีอยู่เต็มเปี่ยม และจึงเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมที่มีเป้าหมาย ซึ่งมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่า เน้นการฟังและการมีสมาธิในขณะทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมศิลปะ หรือกิจกรรมการนั่งเล่น จะทำให้เด็กสนใจและเรียนรู้กิจกรรมที่มีเป้าหมายได้ดีขึ้น วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ ที่ 8 มิถุนายน 2558
พฤติกรรมไม่ยอมแบ่งปันและไม่รู้จักรอคอย เด็กในวัยนี้ยังรอคอยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กในวัยนี้ และจะยากมากถ้าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แต่ทักษะของพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเรียนรู้กันได้
วิธีการแก้ไข
จัดกลุ่มกิจกรรมย่อย ซึ่งมีเด็กประมาณ 2-3 คนต่อครู 1 คน โดยครูจัดของเล่นให้มีความหลากหลายและเป็นที่สนใจของเด็ก ครูจะเป็นผู้นำกลุ่มโดยให้เด็กผลัดกันเล่นของเล่น โดยใช้เวลาในการเล่นแต่ละขั้นไม่นานมาก จากนั้นครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนของเล่นกัน จะทำให้เด็กทุกคนในกลุ่มได้เรียนรู้การเล่นอย่างมีกฎเกณฑ์
ถ้ากรณีของเล่นที่เด็กสนใจและมีจำนวนจำกัด ครูควรมีกฎเกณฑ์กับเด็กให้ชัดเจน เช่น คนไหนอยากเล่นของเล่นชิ้นนี้ยกมือขึ้น ให้เด็กที่ยกมือขึ้นก่อนได้รับของเล่น ซึ่งในกลุ่มอาจมีเด็ก 4 คนแต่มีเด็ก 3 คนที่ยกมือขึ้น ก็ให้เด็ก 3 คนเล่นของเล่นก่อน หลังจากนั้นครูอาจจับเวลาการเล่นให้เล่นคนละ 5 นาที เมื่อครบเวลา ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กส่งของเล่นให้เพื่อนที่ยังไม่ได้เล่นต่อไป โดยใช้กฎกติกาเดิม แต่ถ้าเกิดกรณีที่เด็กไม่รอคอยพยายามจะแย่งของเล่นออกจากเพื่อน ครูต้องยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ได้ โดยการจับแยกเด็กออกจากกลุ่ม ถึงแม้ว่าเด็กจะร้องไห้ โวยวายก็ตาม ต้องใช้วิธีการเพิกเฉย แต่ครูจะให้ความสนใจในเด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยให้เล่นของเล่นกันต่อไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
วิธีการแก้ไข
จัดกลุ่มกิจกรรมย่อย ซึ่งมีเด็กประมาณ 2-3 คนต่อครู 1 คน โดยครูจัดของเล่นให้มีความหลากหลายและเป็นที่สนใจของเด็ก ครูจะเป็นผู้นำกลุ่มโดยให้เด็กผลัดกันเล่นของเล่น โดยใช้เวลาในการเล่นแต่ละขั้นไม่นานมาก จากนั้นครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนของเล่นกัน จะทำให้เด็กทุกคนในกลุ่มได้เรียนรู้การเล่นอย่างมีกฎเกณฑ์
ถ้ากรณีของเล่นที่เด็กสนใจและมีจำนวนจำกัด ครูควรมีกฎเกณฑ์กับเด็กให้ชัดเจน เช่น คนไหนอยากเล่นของเล่นชิ้นนี้ยกมือขึ้น ให้เด็กที่ยกมือขึ้นก่อนได้รับของเล่น ซึ่งในกลุ่มอาจมีเด็ก 4 คนแต่มีเด็ก 3 คนที่ยกมือขึ้น ก็ให้เด็ก 3 คนเล่นของเล่นก่อน หลังจากนั้นครูอาจจับเวลาการเล่นให้เล่นคนละ 5 นาที เมื่อครบเวลา ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กส่งของเล่นให้เพื่อนที่ยังไม่ได้เล่นต่อไป โดยใช้กฎกติกาเดิม แต่ถ้าเกิดกรณีที่เด็กไม่รอคอยพยายามจะแย่งของเล่นออกจากเพื่อน ครูต้องยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ได้ โดยการจับแยกเด็กออกจากกลุ่ม ถึงแม้ว่าเด็กจะร้องไห้ โวยวายก็ตาม ต้องใช้วิธีการเพิกเฉย แต่ครูจะให้ความสนใจในเด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยให้เล่นของเล่นกันต่อไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)